สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 29 กรกฎาคม-4 สิงหาคม 2567

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.123 ล้านไร่ ผลผลิต 27.035 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.215 ล้านไร่ ผลผลิต 26.833 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.15 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.76 และร้อยละ 0.93 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกร    มีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ ณ เดือนพฤษภาคม 2567 ว่าปรากฎการณ์เอลนีโญเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2567 หลังจากนั้นมีความน่าจะเป็นร้อยละ 49 ที่จะเข้าสู่สภาวะลานีญาในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2567 ส่งผลให้คาดว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และจะไม่กระทบแล้งและประสบอุทกภัยเหมือนปีที่แล้ว ประกอบกับเกษตรกรมีการดูแลรักษาผลผลิตดีขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2567 ปริมาณ 17.668 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 65.34 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนสิงหาคม 2567 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 1.911 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 7.07 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.671 ล้านไร่ ผลผลิต 6.217 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.606 ล้านไร่ ผลผลิต 6.918 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 652 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก ปี 2566 ร้อยละ 8.81 ร้อยละ 10.14 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเข้าสู่ภาวะเอลนีโญตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 ถึง เมษายน 2567 ทำให้ฝนมาล่าช้า ฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้การได้ทั่วทั้งประเทศปี 2566 ลดลงจากปี 2565 ประมาณร้อยละ 8.40 และน้ำต้นทุน    ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกในช่วงฤดูนาปรัง ประกอบกับทางภาครัฐขอความร่วมมือให้ลดการเพาะปลูกข้าวนาปรัง นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง เกษตรกรบางรายจึงปล่อยพื้นที่ว่างหรือปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน ส่วนผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ และในบางพื้นที่ประสบปัญหาโรคขอบใบแห้ง ทำให้ต้นข้าวเจริญเติบโตไม่ดี เมล็ดข้าวไม่สมบูรณ์
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยเดือนสิงหาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 0.016 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด และคาดว่าเหลือผลผลิตในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม 2567 อีก 0.020 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.33 ของผลผลิต      ข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,046 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,020 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,757 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,754 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน    
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 19,650 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 933 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,068 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 909 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,649 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.64 และสูงขึ้นในรูปเงินบาท
ตันละ 419 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 593 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,018 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 592ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,263 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 245 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 590 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,911 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 584 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,976 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 65 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.4428 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) ไทย
ข้อมูลการส่งออกข้าวไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 (เดือนมกราคม – มิถุนายน) มีปริมาณ 5.08 ล้านตัน มูลค่า 117,836 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.12 และร้อยละ 55.50 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 เป็นผลมาจากประเทศผู้นำเข้าข้าวมีความต้องการข้าวเพื่อบริโภคและเก็บสต็อกเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร ประกอบกับอินเดียยังคงใช้มาตรการควบคุมการส่งออกข้าว รวมทั้งค่าเงินบาทอ่อนค่าอยู่ที่ประมาณ 36 – 37 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ราคาข้าวไทยอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ทั้งนี้ นายรณรงค์ พลูพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ พร้อมร่วมมือกับสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ผลักดันการส่งออกข้าวในปี 2567 ให้ได้ 8.2 ล้านตัน มีมูลค่า 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (159,493 ล้านบาท) ตามนโยบาย “รักษาตลาดเดิม เพิ่มตลาดใหม่ ในการส่งออกไปต่างประเทศ” โดยในช่วง 5 เดือนสุดท้ายของปี (เดือนสิงหาคม – ธันวาคม) กรมฯ มีแผนจัดกิจกรรมผลักดันการส่งออกข้าวไทย เช่น การกระชับความสัมพันธ์กับเครือข่ายพันธมิตรคู่ค้าข้าวและผู้นำเข้าข้าวที่สำคัญ การจัดงาน Thailand Rice Convention สัญจร และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเจรจาขายข้าวแบบจีทูจีกับอินโดนีเซีย เป้าหมาย 1 – 2 แสนตัน หากครึ่งปีหลังไทยทำการตลาดข้าวดี เชื่อว่ามีโอกาสที่จะสามารถส่งออกได้มากกว่า 8.2 ล้านตัน อีกทั้งยังมีปัจจัยบวกจากการที่ประเทศผู้นำเข้าสำคัญอย่างฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียยังคงมีความต้องการนำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อและภัยแล้ง และคาดว่าในปี 2567 ฟิลิปปินส์มีแนวโน้มนำเข้าข้าวสูงถึง 4.70 ล้านตัน ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มนำเข้าข้าวประมาณ 3.60 - 4.30 ล้านตัน จึงเป็นโอกาสในการส่งออกข้าวของประเทศผู้ส่งออก
อย่างไรก็ตาม กรมฯ ยังคงต้องติดตามปริมาณผลผลิตข้าวของประเทศผู้ส่งออกข้าว เช่น เวียดนาม ปากีสถาน เมียนมา และกัมพูชา ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากภาวะเอลนีโญคลี่คลายลง ส่งผลให้ปริมาณข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นและมีการแข่งขันด้านราคาค่อนข้างสูง รวมถึงมาตรการการส่งออกข้าวของอินเดีย ซึ่งรัฐบาลอาจผ่อนคลายมาตรการควบคุมการส่งออกข้าวก่อนผลผลิตข้าวฤดูกาลผลิตหลักจะออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคม 2567 ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงจากความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาสินค้ากลุ่มพลังงาน และสถานการณ์ความผันผวนของค่าระวางเรือที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.4428 บาท
2) อิรัก
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า รัฐบาลอิรักได้อนุญาตให้กลับมาปลูกข้าวอีกครั้ง หลังจากที่ออกคำสั่งห้ามปลูกข้าวเป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนน้ำจากการสร้างเขื่อนที่มีต้นกำเนิดน้ำในตุรกีและอิหร่าน ทำให้น้ำในแม่น้ำสายหลักของประเทศอย่างแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีสมีปริมาณลดลง รวมทั้งมีการบริหารจัดการน้ำที่ผิดพลาด และปริมาณน้ำฝนลดลง ทั้งนี้ อิรักยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากที่สุด โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงเป็นเวลาหลายเดือน ทำให้อิรักกลายเป็นประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ในตลาดโลก
นาย Mahdi Sahar Al-Jubouri รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรของอิรัก กล่าวว่า ในฤดูกาลเพาะปลูกข้าวปี 2567 รัฐบาลได้จัดสรรพื้นที่ในการปลูกข้าว 150 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 93,750 ไร่) ใน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด Najaf, Diwaniyah, Muthanna, Dhi Qar และ Babel และคาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 150,000 ตัน เนื่องจากมีฝนตกชุกในช่วงฤดูหนาว รวมถึงสัญญาณจากรัฐบาลตุรกีที่จะปล่อยน้ำในแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีสซึ่งมีต้นกำเนิดจากตุรกี ทำให้อิรักสามารถฟื้นฟูการปลูกข้าวได้มากขึ้น โดยการปลูกข้าวของอิรักจะเริ่มในเดือนมิถุนายนและการเก็บเกี่ยวจะสิ้นสุดในเดือนพฤศจิกายน พันธุ์ข้าวที่ปลูก ได้แก่ พันธุ์ Amber พันธุ์ Jasmine พันธุ์ Euphrates และอยู่ในระหว่างการทดสอบพันธุ์ข้าวที่ใช้น้ำน้อยกว่าพันธุ์ที่ปลูกทั่วไป นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการด้านน้ำ การเกษตร และลำคลองของรัฐสภาอิรัก ระบุว่า ในปีต่อไปรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการทำการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การใช้ระบบน้ำหยดแทนการปลูกข้าวแบบขังน้ำจะช่วยให้ปลูกข้าวได้มากกว่าหนึ่งรอบ รากข้าวจะไม่จมอยู่ใต้น้ำ ลดการสูญเสียน้ำจากการระเหย ลดปริมาณน้ำซึมลงสู่ดิน และลดปริมาณก๊าซมีเทน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการศึกษาทดลองและคาดว่าจะสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกถึง 1,000 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 625,000 ไร่)
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : 1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 625 ไร่

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.72 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน          
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  12.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.57 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 346.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,272.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 345.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,401.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 129.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2567 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 387.00 เซนต์ (5,465.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 401.00 เซนต์ (5,742.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.49 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 277.00 บาท
 

 



มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.682 ล้านไร่ ผลผลิต 26.883 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,096 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.268 ล้านไร่ ผลผลิต 30.617 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3,303 กิโลกรัม พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 6.32 ร้อยละ 12.20 และร้อยละ 6.27 ตามลำดับ
โดยเดือน กรกฎาคม 2567   คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.40 ล้านตัน (ร้อยละ 1.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 15.72 ล้านตัน (ร้อยละ 58.46 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย หัวมันสำปะหลังมีคุณภาพลดลงเนื่องจากฝนตกในหลายพื้นที่ จึงทำให้มีสิ่งเจือปนสูงและเปอร์เซ็นต์เชื้อแป้งต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.78 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.94 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 8.25
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.22 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.26 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.64
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.05 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขตกรุงเทพ และปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.93 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 18.03 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.55
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 245.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,780 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 245.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,870 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 517.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,540 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ตันละ 517.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,730 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2567 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.524 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.274 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.893 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.341 ล้านตัน
ของเดือนมิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 19.49 และร้อยละ 19.65 ตามลำดับ   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ เฉลี่ย กก.ละ 5.58 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.07 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.06
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 33.16 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.22 บาท ในกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ  
ราคาในตลาดต่างประเทศ

ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,000.95 ริงกิตมาเลเซีย (31.57 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 4,015.02 ริงกิตมาเลเซีย (31.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,064.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,014.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.93           
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน


 


อ้อยและน้ำตาล
 
 1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ     
         - ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          - Office of the US Trade Representative (USTR) รายงานว่า ฟิลิปปินส์ได้รับอนุญาตให้ส่งออกน้ำตาลทรายดิบ 145,235 MTRV (metric tons raw value) ไปยังสหรัฐฯ สำหรับปีงบประมาณ 2568 ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568 โดยฟิลิปปินส์ได้รับการจัดสรรการส่งออกน้ำตาลจาก USTR มากเป็นอันดับสาม รองจากสาธารณรัฐโดมินิกัน และบราซิล ทั้งนี้ ถือเป็นปีที่สองติดต่อกันที่ฟิลิปปินส์ได้รับจัดสรรโควตาการส่งออกน้ำตาลทรายดิบภายใต้มาตรการโควตาอัตราภาษี (TRQ) (ที่มา: chinimandi)
          - สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลและชีวพลังงานอินเดีย (The Indian Sugar Mills & Bio-Energy Manufacturers Association: ISMA) ประกาศแนวโน้มสำหรับฤดูการผลิตน้ำตาลปี 2567/68 โดยคาดการณ์พื้นที่เพาะปลูกอ้อยทั้งหมดในอินเดียอยู่ที่ 56.10 ล้านเฮกตาร์ และผลผลิตน้ำตาลที่ 33.30 ล้านตัน โดยภาพรวมของผลผลิตอ้อยใน
รัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ในส่วนของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) และรัฐกรณาฏกะ (Karnataka) พบว่า พื้นที่ปลูกอ้อยมีแนวโน้มลดลงประมาณร้อยละ 13 และร้อยละ 8 ตามลำดับ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ไม่เพียงพอในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำฝนในปีปัจจุบันมีปริมาณสูงกว่าปกติประมาณร้อยละ 30 ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยและอัตราการฟื้นตัวของผลผลิตน้ำตาลได้อย่างมีนัยสำคัญ (ที่มา: chinimandi)
          -  บริษัทด้านการพยากรณ์อากาศ Climatempo กล่าวว่า ในภาคกลาง - ใต้ของประเทศบราซิลอาจได้รับประโยชน์จากความล่าช้าของปรากฏการณ์ลานีญา (La Nina) และทั้งจากรูปแบบสภาพอากาศที่เป็นกลาง (Neutral) กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การพยากรณ์อากาศอาจมีความแตกต่างกันตามความรุนแรงของปรากฏการณ์ลานีญา ด้าน Czarnikow เสริมว่าผลกระทบของปรากฏการณ์ลานีญาต่อบราซิลยากที่จะคาดเดา
โดยคาดว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิลจะมีฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ย ในขณะที่ในภาคกลาง - ใต้อาจมีสภาพ อากาศที่ขาดฝนและมีความร้อนสูง ด้าน Green Pool เสริมว่าปรากฏการณ์ลานีญาจะกระทบต่อปริมาณผลผลิตอ้อยของบราซิลในฤดูกาลหน้า ด้าน StoneX กล่าวว่าสภาพอากาศของบราซิลจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางราคาน้ำตาลในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (ที่มา:  บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด)




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
สัปดาห์นี้ไม่มีการรายงานราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,032.28 เซนต์ (13.60 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,107.88 เซนต์ (14.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.82
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 355.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.76 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 347.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.66 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.51
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 42.69 เซนต์ (33.73 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 45.83 เซนต์ (36.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.85


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.50 บาท ลดลงจากเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 987.25 ดอลลาร์สหรัฐ (34.99 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ975.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 845.50 ดอลลาร์สหรัฐ (29.97 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 835.00 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.26 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,483.75 ดอลลาร์สหรัฐ (52.59 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,479.75 ดอลลาร์สหรัฐ (53.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.56 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1115.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.52 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1115.50 ดอลลาร์สหรัฐ (40.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และลดลงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.55 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 868.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.78 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 857.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.80 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.31 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.76
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,144 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,050 บาทคิดเป็นร้อยละ 4.59 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,611 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,504 บาทคิดเป็นร้อยละ 7.11 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 955 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว        
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  69.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.38 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.10 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 64.11 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.05 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.86 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.21 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,000 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว     
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 41.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.05 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.68 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.47 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50  บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 380 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 365 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 396 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0 - 4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 432 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 420 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 418 คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 438 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 434 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 390 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 438 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 500 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.30 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 81.81 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.62 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 94.53 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.40 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 74.32 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 103.70 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 57.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 60.06 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.66 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 51.25 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2567) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.09 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.04 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา   
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.60 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 81.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.57 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา   
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 128.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 123.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.76 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 128.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.74 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา   
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.08 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา